ร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้อำนวยการโรงเรียนนำครู นักเรียน ร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สำนักงานเทศบาลตำบลช่อแฮ วันที่ 5ธันวาคม 2553 รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.thai-school.net/wanarat

ร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยนางบัวฉิม โสภา นางสาวลัดดาวัลย์ วันสนุก และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 เข้าร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธันวาคม 2553 ร่วมพิธีลงนามถวายพระพร สดุดีเฉลิมพระเกียรติ และพิธีถวายเครื่องราชสักการะ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลช่อแฮ

นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้ทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน"

นายนพรัตน์ ส่วนบุญ  รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้ทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน"
นายนพรัตน์ ส่วนบุญ ผู้อำนวยการโรงเรียน รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้ทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน" สาขา ทางด้านการศึกษา ประจำปี พุทธศักราช 2553 โดยหนังสือพิมพ์ข่าวผู้นำ ซึ่งมี รศ.ดร.พิชัย สราญรมย์ ผู้ช่วยอธิบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นประธานในพิธี เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 10 วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้ทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน"

นายนพรัตน์ ส่วนบุญ  รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้ทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน"
นายนพรัตน์ ส่วนบุญ ผู้อำนวยการโรงเรียน รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้ทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน" สาขา ทางด้านการศึกษา ประจำปี พุทธศักราช 2553 โดยหนังสือพิมพ์ข่าวผู้นำ โดยมี รศ.ดร.พิชัย สราญรมย์ ผู้ช่วยอธิบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นประธานในพิธี เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 10 วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่"เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์"

นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่"เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์"
นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่ "เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์" โดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ มอบโล่นี้ไว้เพื่อแสดงว่า นายนพรัตน์ ส่วนบุญ ผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ "เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์" โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีมอบโล่ เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์ เนื่องในวันวิสาขบูชาวันสำคัญของโลก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ทำความดี และเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา วันที่ 26 พฤษภาคม 2553 ณ หอประชุมสิริราชาณุสรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

รับโล่"เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์"ประจำปี 2553

รับโล่"เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์"ประจำปี 2553
นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่ "เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์" โดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ มอบโล่นี้ไว้เพื่อแสดงว่า นายนพรัตน์ ส่วนบุญ ผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ "เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์" โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีมอบโล่ เป็นคนดีศรีพุทธศาสน์ เนื่องในวันวิสาขบูชาวันสำคัญของโลก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ทำความดี และเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา วันที่ 26 พฤษภาคม 2553 ณ หอประชุมสิริราชาณุสรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

รับโล่รางวัลเกียรติยศ "เพชรเสมา" สาขาผู้บริหารสถานศึกษา ดีเด่น ประจำปี 2552

รับโล่รางวัลเกียรติยศ "เพชรเสมา" สาขาผู้บริหารสถานศึกษา ดีเด่น ประจำปี 2552
นายนพรัตน์ ส่วนบุญ รับโล่รางวัลเกียรติยศ "เพชรเสมา" สาขาผู้บริหารสถานศึกษา ดีเด่น ประจำปี 2552 จาก ดร.สมชาย เทพแสง นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนิตยสารศูนย์ข่าววิทยุและโทรทัศน์ ร่วมกับสโมสรนักบริหาร และหนังสือพิมพ์ตำรวจพัฒนา จัดพิธีมอบโล่รางวัลเกียรติยศ "เพชรเสมา" ณ ห้องฉัตรทอง สโมสรทหารบก(ส่วนกลาง)เทเวศร์ วันที่ 3 เมษายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป เพื่อยกย่องผู้ที่ทำประโยชน์ทางด้านการศึกษาและพัฒนาการศึกษา เพื่อสนับสนุนบุคคลที่ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแก่บุคคลทั่วไป เพื่อส่งเสริมบุคลากรของชาติที่สร้างผลงานดีเด่นทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานและคุณงามความดีที่ท่านได้ปฏิบัติมาโดยตลอด

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบาน ซึ่งเป็น กระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วง ทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า"แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาท นัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอนนางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย
ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้ โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว
กำหนดวันลอยกระทงวันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประเพณีลอยกระทงนั้นประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
ความเชื่อของประเพณีลอยกระทง
1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด
2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท
3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่างๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้
5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน
7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

เพลง รำวงลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ