กรมอนามัยขอความร่วมมือในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโดยให้ปลอดน้ำอัดลม งดจำหน่ายขนมกรุบกรอบ อาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมาก โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีแนวคิดว่าควรมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพนักเรียนให้ยั่งยืน โดยสถานศึกษาทุกแห่งงดจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ อาหารและน้ำที่ปรุงรสด้วยปริมาณน้ำตาลมาก
ปัจจุบันปัญหาภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนในเด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รายงานว่าเด็กไทยมีภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า และข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่านักเรียนประถมศึกษาเป็นโรคอ้วนถึงร้อยละ 30 การออกกำลังกายลดลงจากร้อยละ 81 เหลือร้อยละ59 และมีการศึกษาพบว่าเด็กที่ปวดฟันจะไม่มีความสุขและรู้สึกไม่มีสมาธิในการเรียน ปัญหาสุขภาพเด็กจึงมีสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจาก การบริโภคอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาลมากเกินควร และออกกำลังกายน้อยลง
ในการสัมมนานักวิชาการและผู้บริหารโรงเรียนของ กทม.จัดโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ นักวิชาการและผู้บริหาร ได้เสนอแนะนโยบายและมาตรการโรงเรียนเพื่อป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็ก 4 ข้อคือ
1.มาตรการลด/งดจำหน่ายน้ำอัดลมในโรงเรียน และจัดหาน้ำเปล่าที่สะอาดแก่เด็กนักเรียน
2.มาตรการลด/งดจำหน่ายขนมกรุบกรอบในโรงเรียน
3.มาตรกรจัดอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในโรงเรียน
4.มาตรการเพิ่มกิจกรรมทางกายแก่เด็กนักเรียน
ที่มากองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ประเพณีวันออกพรรษา และ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
ประเพณีวันออกพรรษา
วันออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ อยู่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่งอธิษฐานเข้าพรรษาตลอดระยะ เวลา 3 เดือนในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมซึ่งเรียก กันว่า "วันมหาปวารณา" คือเป็นวันที่พระภิกษุทุกรูป จะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องราวเกี่ยวกับความ ประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระภิกษุทุกรูปจะอนุญาต ให้ว่ากล่าว ตักเตือนกันได้ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆนับตั้งแต่ พระเถระ ได้แก่พระภิกษุผู้มีอาวุโสสูงลงมาจะสามารถว่ากล่าว ตัก เตือนหรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ตามพุทธตำนานกล่าวว่าพระพุทธองค์เสด็จจากมนุษย์โลก ไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อสิ้นสุด ครบพรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับมนุษย์โลกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทางบันไดที่พระอินทร์นิมิตถวาย ประกอบด้วยบันได เงิน บันไดทอง บันไดแก้ว มีพระพรหมเทวดามาส่งเสด็จ การเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดีย เวลานี้ เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพารณาสี เมืองสาวัตถี และเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้7 วัน พระองค์ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งทรงพิจารณาว่ามีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว ทรงเห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ววันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ มีประชาชนไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thai-school.net/wanarat
วันออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ อยู่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่งอธิษฐานเข้าพรรษาตลอดระยะ เวลา 3 เดือนในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมซึ่งเรียก กันว่า "วันมหาปวารณา" คือเป็นวันที่พระภิกษุทุกรูป จะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องราวเกี่ยวกับความ ประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระภิกษุทุกรูปจะอนุญาต ให้ว่ากล่าว ตักเตือนกันได้ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆนับตั้งแต่ พระเถระ ได้แก่พระภิกษุผู้มีอาวุโสสูงลงมาจะสามารถว่ากล่าว ตัก เตือนหรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ตามพุทธตำนานกล่าวว่าพระพุทธองค์เสด็จจากมนุษย์โลก ไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อสิ้นสุด ครบพรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับมนุษย์โลกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทางบันไดที่พระอินทร์นิมิตถวาย ประกอบด้วยบันได เงิน บันไดทอง บันไดแก้ว มีพระพรหมเทวดามาส่งเสด็จ การเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดีย เวลานี้ เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพารณาสี เมืองสาวัตถี และเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้7 วัน พระองค์ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งทรงพิจารณาว่ามีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว ทรงเห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ววันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ มีประชาชนไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thai-school.net/wanarat
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)